ไอโซเคอม่า Iso Curma
“เกิร์ด”หรือ โรคกรดไหลย้อน หมายถึงอะไร ?
โรคกรดไหลย้อน หรือ “เกิร์ด”(GERD : Gastroesophageal reflux disease) หมายถึง ภาวะที่มีน้ำย่อยในกระเพาะอาหารซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด ไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร ส่งผลให้มีอาการระคายบริเวณลำคอ และแสบอกหรือจุกเสียดบริเวณใต้ลิ้นปี่ รวมทั้งมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อร่วมด้วย คล้าย ๆ กับอาการของโรคกระเพาะอาหาร
ทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่าเป็นโรคกระเพาะอาหาร และไปซื้อยาลดกรด (antacids) ซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่างไปเจือจางความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร พอหมดฤทธิ์ยาก็กลับมาเป็นอีก
โรคกรดไหลย้อนมีสาเหตุมาจากอะไร?
ในภาวะปกติ ร่างกายมีกลไกการป้องกันการไหลย้อนของน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารขึ้นไปในหลอดอาหาร โดยการทำงานของหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง (Lower esophageal sphincter, LES) ซึ่งหูรูดนี้จะคลายตัวขณะที่มีการกลืนอาหาร เพื่อให้อาหารผ่านลงสู่กระเพาะอาหาร และหดตัวปิดทันทีเพื่อไม่ให้อาหารและกรดจากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร เมื่อประสิทธิภาพในการทำงานของกลไกการควบคุมนี้เสื่อมลงหรือบกพร่อง จึงเกิดโรคกรดไหลย้อน ซึ่งอาจเกิดเป็นครั้งคราว เป็นพัก ๆ หรือเกิดตลอดเวลา
สาเหตุหลักของโรคนี้เกี่ยวข้องกับความผิดปกติในการทำหน้าที่ของหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง เช่น มีการคลายตัวของหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างโดยที่ไม่มีการกลืน หรือความดันของหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างลดลง ไม่สามารถต้านแรงดันในช่องท้องและการบีบตัวของกระเพาะอาหารได้ส่วนสาเหตุที่ทำให้หูรูดดังกล่าวทำงานผิดปกติยังไม่ทราบแน่ชัด โรคนี้พบได้บ่อยในบุคคลทุกเพศทุกวัย หูรูดอาจเสื่อมตามอายุ หูรูดยังเจริญไม่เต็มที่ในเด็กทารก หรืออาจมีความผิดปกติที่เป็นมาแต่กำเนิด นอกจากนี้อาจพบในสตรีมีครรภ์ด้วยเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายมีผลต่อการทำงานของหูรูดหลอดอาหาร
พบว่าโรคนี้มีความสัมพันธ์กับความอ้วน โรคเบาหวาน และโรคไส้เลื่อนกะบังลม (hiatal hernia) ซึ่งมีกระเพาะอาหารบางส่วนไหลเลื่อนเข้าไปอยู่ในช่องอก ทำให้มีโอกาสเกิดการไหลย้อนของกรดจากกระเพาะอาหารเพิ่มมากขึ้นปัจจัยอื่น ๆที่ส่งเสริมให้เกิดโรคกรดไหลย้อน อาทิ พฤติกรรมการบริโภค และการปฏิบัติตน ได้แก่ การรับประทานอาหารอาหารรสจัด/รสเผ็ด อาหารประเภทไขมันสูง อาหารทอด ชา กาแฟ น้ำอัดลม การดื่มสุรา สูบบุหรี่ การนอนหรือเอนกายทันทีหลังรับประทานอาหาร ความเครียด ตลอดจนการสวมเสื้อผ้าคับและรัดเข็มขัดแน่น เป็นต้นนอกจากนี้ การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาขยายหลอดลม ยาลดความดันกลุ่มปิดกั้นเบตาและกลุ่มต้านแคลเซียม ยาต้านคอลิเนอร์จิก ตลอดจนฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน เป็นต้น จะมีผลกระตุ้นการคลายตัวของหูรูดหรือมีการหลั่งกรดมากขึ้น
ที่มา : บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน รองศาสตราจารย์ ดร. สุจิตรา ทองประดิษฐ์โชติ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
อาการกรดไหลย้อน
ระยะที่ 1
โรคกระเพาะอาหารจุกเสียด แน่น อาหารไม่ย่อย
ระยะที่ 2
กรดไหลย้อนอาหารตกค้างลำไส้นานและมากการย่อยอาหารไม่สมบูรณ์เป็นเวลานานเกิดแก๊ซ ดัน น้ำดี และกรด กลับขึ้นมาที่คอจุกแน่น มีกลิ่นปาก เรอบ่อย ผายลมเหม็น มีลมในท้อง ท้องผูกเรื้อรัง
ระยะที่ 3
กรดไหลย้อนเรื้อรังสารอาหารในเลือดเหลือน้อยน้ำหนักลดลงเร็วมากอ่อนเพลียหมดแรง มึนศีรษะบ่อยจุกแน่น แสบร้อนช่วงอกทานอาหารไม่ค่อยลง หิวบ่อยออกซิเจนและน้ำในเลือดน้อยลงนอนหลับไม่สนิท หายใจลำบาก
วิธีรักษาโรคกรดไหลย้อน
จาก{{กรดไหลย้อน}}” bgheader=”” style=”default” color=”black” subcolor=”main” align=”left” size=”default” sr=”default” image=”” icon_type=”hidden” icon_bg=”transparent” size_px=”” use_theme_fonts=”yes” google_fonts=”font_family:Abril%20Fatface%3Aregular|font_style:400%20regular%3A400%3Anormal” id=”” class=”” css=”.vc_custom_1562125952590{margin-top: 16px !important;}”][like_sc_empty_space height_xl=”16″ height_lg=”” height_md=”” height_sm=”” height_ms=”” height_xs=”” id=”” class=”” css=””]
- ชุดที่ผู้ใช้แล้วบอกต่อมากที่สุด ได้ผลดีมาก
- เคอม่าแม็กซ์ แบบน้ำ มี 6 ขวด ทานก่อนอาหารมื้อเช้า วันละขวด ออกฤทธิ์เร็ว รักษาอาการกรดไหลย้อนเฉียบพลัน กระเพาะอาหารอักเสบ รู้สึกดีได้ตั้งแต่ขวดแรกที่ดื่ม
- กรีนเคอมิน มี 30 แคปซูล สรรพคุณใน 2 แคปซูล = เคอม่าแม็กซ์ 1 ขวด แต่สะดวกในการพกพากว่า ทานก่อนอาหารมื้อเที่ยงและเย็น เพื่อการรักษาต่อเนื่องและประหยัดกว่า
ต้องการคำปรึกษา และคำแนะนำเพิ่มเติม โทรหาได้เลย 081-944 4226 หรือ LINE @bestherb